วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่4   เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาพรีเซ็นต์งานที่แต่ละกลุ่มได้รับใแต่ละหัวข้อ 

กลุ่ม1 หัวข้อ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย (กลุ่มตัวเอง)
            กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอ ความหมายของภาษา   ภาษา หมายถึงสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความรู้ และรู้สึก แล้วเกิดความเข้าใจรงกัน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นได้แก่ เสียงพูด ตัวกริยา กริยาท่าทาง สัญลักษณ์ รูปภาพ แสง สี เสียงและทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้สื่อความหมายได้แล้วเกิดความเข้าใจตรงกัน  และความสำคัญของภาษา มีดังนี้ 
-ภาษาเป็นสิ่งแสดงถึงมรดกทางวัฒนธรรมของคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นสิ่งผสานความรักความสามัคคีระหว่างคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์
-ภาษามีความสำคัญต่อความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคม
และให้ชมวีดีโอที่ไปถ่ายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ห้องอนุบาล2/2 โดยมีน้องลูกแก้ว พูด1-10เป็นภาษาอังกฤษ น้องมิเซลท่อง A-Z  และน้องๆช่วยกันรองเพลงฝน




กลุ่ม2 หัวข้อแนวคิดของนักทฤษฎีภาษาของเด็กปฐมวัย
       กลุ่มนี้นำเสนอแนวคิดของทฤษฎีของแต่ละคน มีดังนี้
- เพียเจต์ ได้นำเสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กมีอิธิพลต่อกระบวนการเรียนการสอนภาษาธรรมชาติ ว่า เด็กๆเกิดการเรียนรู็ได้โดยการมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติในกิจกรรม่างๆได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ต่างๆด้วยตนเอง ได้คิดด้วยตนเอง
- จอห์น ดิวอี  กล่าว่า การเรียนรู้ภาษาองเด็กเกิดจากการมีประสบการณ์ตรงลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเอง เรียกว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
- ไวกอตสกี้ กล่าว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาองตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านกาเล่และเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือตนเองและลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
-ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจากการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
- กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้  การเรียนรู้ของเด็กต้องเป็นไปตามธรรมชาติที่เด็กได้มีประสการณ์ตรงลงมือปฏิบัติกับบุคคลสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการ
  
กลุ่ม3 หัวข้อ  พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กแรกเกิด-2ปี
        กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการในต่ละช่วงของเด็ก ในอายุตั้งแต่ แรกเกิด- 2ปี
  - 4 สัปดาห์ เด็กจะเลียนแบบการพูด เลียนแบบสีหน้า และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆบนใบหน้าของเรา 
- 6 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มไล่หลังเรา และสายตาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
- 8 สัปดาห์ ถ้าถือของเหนือศีรษะ เด็กจะเงยมองตามสิ่งของนั้น
- 3 เดือน เด็กจะมองของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ เด็กจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและส่งเสียงอ้อแอ้ตอบ
- 4 เดือน เด็กจะตื่นเต้นเมื่อถึงเวลาป้อนนมและถ้าได้ยินเสียงรอบๆตัว เด็กจะหันไปหาที่มาของเสียงนั้น
-5 เดือน เด็กะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัวและความโกรธออกมา
- 6 เดือน เด็กจะเริ่มสนใตกระจกเงา สนใจใบหน้าตนเอง และชอบอาหารเป็นบางอย่าง
- 8 เดือน เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง เริ่มเข้าใจคำว่า "ไม่"
- 9 เดือน เด็กจะเริ่มแสดงความต้องการของเขาให้เราได้รับรู้ 
- 10 เดือน เด็กจะเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ และพูกคำที่สั้นๆง่ายๆได้ั
- 11 เดือน เด็กจะเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นได้ง่ายๆ
- 12 เดือน เด็กจะพยายามทำอะไรให้เราหัวเราะ และทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ
- 15 เดือน เด็กะเริ่มแสดงให้เรารู้ว่าอยากทำอะไรเองบ้าง 
- 21 เดือน เด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เดกจะเรียกเราเข้าไปดูด้วย
- 2 ปี เด็กชอบอู่ตามลำพังคนเดียว เล่นคนเดียว

กลุ่ม4 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก2-4 ปี
     กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้ว่า เด็กนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าและเด็กจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีตอบ และได้ชมคลิปวีดิโอที่ไปถ่าย

กลุ่ม5 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก4-6 ปี
 กลุ่มนี้นำเสนอว่า เป็นช่วงที่พัฒาการรับรู้โดยการสังเกตเด็กจะสามารถบอกชื่อตัวเองได้ และมักจะชอบถามว่า ทำไม อย่างไร ถามทุกอย่างที่ไม่เข้าใจ เด็กมักจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่

กลุ่ม6 หัวข้อ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
กลุ่มนี้ได้นำเสนอ เกี่ยวกับการเรียนรู้  การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาากการได้รับประสบการณ์โดยการเปลี่ยแปลงั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ปะสบกาณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์การที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
ปะสบกาณ์ทงอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิไดพบหรือสัมผัสด้วยตเองโดยตรงแต่อาได้รับประสบการณ์ทางอ้อม จากการอบรมสั่งสอนหรือกาอ่านหนังสือต่างๆ
 องค์ประะกอบ ของการเรียนรู้ มี4 ประการ 
1.แรงขับ เป็ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2.สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆจึงเป็นตัวทำให้ปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
3.การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าการตอบสนอง

กลุ่ม7 หัวข้อ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
      กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการรียนรู้องเด็ก
- การช่วยเหลือตนเอง
-เด็กจะเริ่มต้นการเรียนรู้จากความสัมพันธ์ระหว่งตนเองกับธรรมชาติ

กลุ่ม9 หัวข้อ องค์ประกอบภาษาทางด้านภาษา
                กลุ่มนี้เสนอพาวเวอร์พ้อยเกี่ยวกับ องค์ประกอบของภาษามีดังนี้ เสียง ไวยากรณ์ ความหมายและมีเด็กต่างชาติพูดภาษาอีสาน

กลุ่ม10 หัวข้อ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
     กลุ่มนี้เสนอวิดีโอเกี่ยวกับภาษาธรรมชติของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย ในเรื่องของการคิดการเรียน กาสอนแบบธรรมชาติ และสอนว่าอย่าคาดหวังให้เด็ก เพราะเด็กละคนนั้นมีความแตกต่างกัน และครูต้องมีการ่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกรองเด็กในเรื่องการอ่าน การเขียนของเด็ก














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น