วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่6  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
           วันนี้อาจารย์สอนเรื่อวแนวทางการจัดประบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาดังนี้

1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
-ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
-การประสมคำ
-ความหมายของคำ
-นำคำมาประกอบเป็นประโยค
-การแจกลูกสะกดคำ การเขียน
เช่น กอ-อา-กา      หอ-อู-หู          งอ-อู-งู      ถอ-อู-ถู
  • ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
  • ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก

              Kenneth Goodman
-แนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
-มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
-แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
             ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
-ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
-ช่างสงสัย ช่างซักถาม
-เลียนแบบคนรอบข้าง

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole  Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
-เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
-เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
-อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

การสอนภาษาธรรมชาติ
  • สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม(ไม่เรียนเป็นรายวิชา)
  • สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
  • สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
  • สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
  • ไม่เข้มงวด กับการท่องสะกด 
  • ไม่บังคับให้เด็กเขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
1.การจัดสภาพแวดล้อม
-ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
-หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
-เด็กจะต้องมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อที่มีความหมาย
-เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงๆ
-เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
-เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3.การเป็นแบบอย่าง
-ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
-ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4.การตั้งความคาดหวัง
-ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
-เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะเน
-เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
-เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
-ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
-ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
-ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
-ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7.การยอมรับนับถือ
-เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
-เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตเอง
-ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
-ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
-ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
-ครูจะต้องทำใหเด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
-ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
-เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

 ผู้ถ่ายทอดความรู้ ---> ผู้อำนวยความสะดวก ---> ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

               บทบาทครู
-ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
-ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
-ครูยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วน ของเด็ก
-ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

       
               สิ่งที่ได้ในวันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแบบธรรมชาติ ทำให้รู้ว่าการสอนเด็กให้เขียนและอ่านเป็นนั้น เราไม่ควรคาดหวังในตัวเด็กมาก เพราะ เด็กแต่ละคนอาจจะเขียนได้บ้างไม่ได้บ้าง เขียนถูกบ้างเขียนผิดบ้าง เขียนกลับหัวบ้าง เราต้องเข้าใจและสอนอันที่ถูกให้กับเด็ก เราไม่ควรดุด่าเด็กเพราะอาจทำให้เด็กไม่กลัวเขียนหรือกล้าอ่านหนังสือเพราะกลัวว่ากลัวเขียนผิดกลัวอ่านผิดแล้วจะโดนด่า และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตเมื่อเราได้ไปฝึกสอน                   










วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่5  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

          วันนี้เพื่อนกลุ่มที่ยังไม่นำเสนออาทิตย์ที่แล้ว ออกมานำเสนอพาวเวอร์พ้อย คือกลุ่ม 8 ในหัวข้อ เรื่องพัฒนาการ โดยมีเนื้อหาดังนี้ พัฒนาการคือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่มความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่่างๆได้อ่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากให้ซับซ้อนิ่งข้นให้ลอดการเพิ่มทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับของบุคคลนั้น
วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยให้วาดรูปสิ่งที่ตนเองรักที่สุดในวัยเด็กโดยของที่ข้าพเจ้าที่สุดคือชุดนอนโดเรม่อน ที่น้าเป็นคนให้เป็นของขวัญวันเกิด
และวันนี้อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง องค์ประกอบของภาษาแนวคิดนักการศึกษา โดยมีเนื้อหาดังนี้
1.Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
-เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-หน่วยเสียงที่จะประกอบของเป็นตำในภาษา
2.Semantic
-คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
-คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
-ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
3.Syntax
-คือระบบไวยากรณ์
-การเรียงรูปประโยค
4.Pragmatic
-คือระบบการนำไปใช้
-ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
      แนวคิดการศึกษา
1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
        ทฤษฎีการเรียนรู้ของ skinner
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
      Jon B. Watson
-ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
-การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไดทุกพฤติกรรม
       นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
-ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
-เมื่อได้รับแรงเสริม จะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
        Piaget
-เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
       Vygotsky
-เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3.แนวคิดกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
      Arnold  Gesell
-เน้นความพรอมทางด้านร่างกายในการใชภาษา
-ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
4.แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
      Noam Chmsky
-ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวของมนุษย์
-การเรียนรู้ภาษาข้นอยู่กับวัตถุภาวะ
-มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
        แนวคิดของ O.Hobart  Mowrer
-คิดค้นทฤษฎความพึงพอใจ
ความสามรถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
       แนวทางมโนการจัดประสบการณ์ทางภาษา
-เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ไดแบ่งกลุ่มมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น3กลุ่ม ดังนี้
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
-นำองค์ประกอบย่อยองภาษามใช้ในการสื่อความสื่อความหมาย
-เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำที่เป็นวลี หรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
-เชื่อว่าภาษาเปนเรื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
-ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-การแลกเปลี่ยนแปลงประสบการณ์
-เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา






                                   
                                       เป็นรูปสิ่งที่ข้าพเจ้าวาดในกิจกรรม สิ่งที่รักที่สุดในวัยเด็ก









วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่4   เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาพรีเซ็นต์งานที่แต่ละกลุ่มได้รับใแต่ละหัวข้อ 

กลุ่ม1 หัวข้อ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย (กลุ่มตัวเอง)
            กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอ ความหมายของภาษา   ภาษา หมายถึงสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความรู้ และรู้สึก แล้วเกิดความเข้าใจรงกัน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นได้แก่ เสียงพูด ตัวกริยา กริยาท่าทาง สัญลักษณ์ รูปภาพ แสง สี เสียงและทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้สื่อความหมายได้แล้วเกิดความเข้าใจตรงกัน  และความสำคัญของภาษา มีดังนี้ 
-ภาษาเป็นสิ่งแสดงถึงมรดกทางวัฒนธรรมของคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นสิ่งผสานความรักความสามัคคีระหว่างคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์
-ภาษามีความสำคัญต่อความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคม
และให้ชมวีดีโอที่ไปถ่ายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ห้องอนุบาล2/2 โดยมีน้องลูกแก้ว พูด1-10เป็นภาษาอังกฤษ น้องมิเซลท่อง A-Z  และน้องๆช่วยกันรองเพลงฝน




กลุ่ม2 หัวข้อแนวคิดของนักทฤษฎีภาษาของเด็กปฐมวัย
       กลุ่มนี้นำเสนอแนวคิดของทฤษฎีของแต่ละคน มีดังนี้
- เพียเจต์ ได้นำเสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กมีอิธิพลต่อกระบวนการเรียนการสอนภาษาธรรมชาติ ว่า เด็กๆเกิดการเรียนรู็ได้โดยการมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติในกิจกรรม่างๆได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ต่างๆด้วยตนเอง ได้คิดด้วยตนเอง
- จอห์น ดิวอี  กล่าว่า การเรียนรู้ภาษาองเด็กเกิดจากการมีประสบการณ์ตรงลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเอง เรียกว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
- ไวกอตสกี้ กล่าว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาองตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านกาเล่และเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือตนเองและลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
-ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจากการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
- กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้  การเรียนรู้ของเด็กต้องเป็นไปตามธรรมชาติที่เด็กได้มีประสการณ์ตรงลงมือปฏิบัติกับบุคคลสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการ
  
กลุ่ม3 หัวข้อ  พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กแรกเกิด-2ปี
        กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการในต่ละช่วงของเด็ก ในอายุตั้งแต่ แรกเกิด- 2ปี
  - 4 สัปดาห์ เด็กจะเลียนแบบการพูด เลียนแบบสีหน้า และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆบนใบหน้าของเรา 
- 6 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มไล่หลังเรา และสายตาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
- 8 สัปดาห์ ถ้าถือของเหนือศีรษะ เด็กจะเงยมองตามสิ่งของนั้น
- 3 เดือน เด็กจะมองของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ เด็กจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและส่งเสียงอ้อแอ้ตอบ
- 4 เดือน เด็กจะตื่นเต้นเมื่อถึงเวลาป้อนนมและถ้าได้ยินเสียงรอบๆตัว เด็กจะหันไปหาที่มาของเสียงนั้น
-5 เดือน เด็กะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัวและความโกรธออกมา
- 6 เดือน เด็กจะเริ่มสนใตกระจกเงา สนใจใบหน้าตนเอง และชอบอาหารเป็นบางอย่าง
- 8 เดือน เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง เริ่มเข้าใจคำว่า "ไม่"
- 9 เดือน เด็กจะเริ่มแสดงความต้องการของเขาให้เราได้รับรู้ 
- 10 เดือน เด็กจะเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ และพูกคำที่สั้นๆง่ายๆได้ั
- 11 เดือน เด็กจะเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นได้ง่ายๆ
- 12 เดือน เด็กจะพยายามทำอะไรให้เราหัวเราะ และทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ
- 15 เดือน เด็กะเริ่มแสดงให้เรารู้ว่าอยากทำอะไรเองบ้าง 
- 21 เดือน เด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เดกจะเรียกเราเข้าไปดูด้วย
- 2 ปี เด็กชอบอู่ตามลำพังคนเดียว เล่นคนเดียว

กลุ่ม4 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก2-4 ปี
     กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้ว่า เด็กนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าและเด็กจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีตอบ และได้ชมคลิปวีดิโอที่ไปถ่าย

กลุ่ม5 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก4-6 ปี
 กลุ่มนี้นำเสนอว่า เป็นช่วงที่พัฒาการรับรู้โดยการสังเกตเด็กจะสามารถบอกชื่อตัวเองได้ และมักจะชอบถามว่า ทำไม อย่างไร ถามทุกอย่างที่ไม่เข้าใจ เด็กมักจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่

กลุ่ม6 หัวข้อ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
กลุ่มนี้ได้นำเสนอ เกี่ยวกับการเรียนรู้  การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาากการได้รับประสบการณ์โดยการเปลี่ยแปลงั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ปะสบกาณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์การที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
ปะสบกาณ์ทงอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิไดพบหรือสัมผัสด้วยตเองโดยตรงแต่อาได้รับประสบการณ์ทางอ้อม จากการอบรมสั่งสอนหรือกาอ่านหนังสือต่างๆ
 องค์ประะกอบ ของการเรียนรู้ มี4 ประการ 
1.แรงขับ เป็ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2.สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆจึงเป็นตัวทำให้ปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
3.การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าการตอบสนอง

กลุ่ม7 หัวข้อ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
      กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการรียนรู้องเด็ก
- การช่วยเหลือตนเอง
-เด็กจะเริ่มต้นการเรียนรู้จากความสัมพันธ์ระหว่งตนเองกับธรรมชาติ

กลุ่ม9 หัวข้อ องค์ประกอบภาษาทางด้านภาษา
                กลุ่มนี้เสนอพาวเวอร์พ้อยเกี่ยวกับ องค์ประกอบของภาษามีดังนี้ เสียง ไวยากรณ์ ความหมายและมีเด็กต่างชาติพูดภาษาอีสาน

กลุ่ม10 หัวข้อ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
     กลุ่มนี้เสนอวิดีโอเกี่ยวกับภาษาธรรมชติของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย ในเรื่องของการคิดการเรียน กาสอนแบบธรรมชาติ และสอนว่าอย่าคาดหวังให้เด็ก เพราะเด็กละคนนั้นมีความแตกต่างกัน และครูต้องมีการ่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกรองเด็กในเรื่องการอ่าน การเขียนของเด็ก














วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  28 มิถุนายน  2556
ครังที่3  เวลาเรียน 13.10น. - 16.40น.
เวลาเข้าสอน  13.10น.    เวลาเข้าเรียน  13.10 น.      เวลาเลิกเรียน  16.40 น.
  
     
                        วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย














บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2     เวลาเรียน  13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน  16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องความหมายหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา ทักษะทางภาษา ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  พัฒนาการภาษาของเด็ก และจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งมีเนื้อหาต่อไปนี้ที่ได้เรียนมา      
ภาษาหมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงออกความคิดและความรู้สึก
     ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
    ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
  -การฟัง รับข้อมูล      
  -การพูด ส่งข้อมูล
  -การอ่าน  รับข้อมูล  
   -การเขียน  ส่งข้อมูล
     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
             การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
        กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
 1.การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.การปรับความข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
    เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล(Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
  -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  -เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคล รอบตัว
  -เด็กสนใจภาษาสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)
   2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual Period)
       เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กยังมีการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนกัน
   2.2 อายุ 4-7 ปี (Intuitive Period)
        ใช้ภาษาในการสื่อสารไดดีกับคนรอข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมไดบ้าง ยังยึดตนองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ขอสิ่งของ
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
     เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage ) อายุ 11-15 ปี
    เด็กคิดดวยเหตุผลอย่างเป็นระบบ
    ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
    เข้าใจเกณฑ์ของสังคม
    สร้างมโฯทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม
           พัฒนาการภาษาของเด็ก 
เด็กจะค่อยๆสรางความรู้และเข้าใจเป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของด็ก
           จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
      วัย ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
     อิทธิพลทางพันธุกรรม
     อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
     การทบทวนเป็นระยะ
     การจัดเป็นหมวดหมู่
     การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม
    -แรงเสริมทางบวก  เช่น การชม การให้ดาว  การกอด  การยกนิ้วโป้ง
    -แรงเสริมทางลบ    เช่น การว่ากล่าวตักเตือนตามสถานการณ์ ไม่ควรลงโทษทางร่างกาย







บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13.10 น.- 16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
    
  สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้ 
      -ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำบล็อกของตนเอง
      - ได้เรียนรู้ถึงข้อตกลงในการเรียนร่วมกันและกฎระเบียบในการเรียน
      - ได้ทำชิ้นงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทำ Mind map เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยความคิดของตัวเองและเพื่อนๆในกลุ่ม
      -ได้เรียนรู้ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม




                                                             ฝีมือกลุ่มของข้าพเจ้า