วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  27 กันยายน 2556 
ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 13.10 น. -16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเข้ารียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น. 

                              วันนี้เป็นการเรียนวันสุดท้าย วันนี้อาจารย์ก็ให้นำดาวที่ปั๊มของตัวเองมาส่ง และมอบรางวัลคนที่ได้ดาวมากที่สุด  วันนี้อาจารย์ก็ให้ทำ Mind map  เกี่ยวกับ ความรู้ที่ได้รับจากวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้เรียนมาทั้งเทอม ว่าได้รับอะไรบ้าง 



ดาวที่ได้ปั๊มของข้าพเจ้า ได้  23 ดวง 





ของรางวัลของคนที่ได้ดาวมากที่่สุด







ความรู้ที่ได้รับของข้าพเจ้า



                                     สิ่งที่ได้รับในวันนี้ 
         ได้รับความสนุกสนาน ได้รู้ถึงสิ่งที่ได้รับในการเรียนในวิชานี้ 









บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  20 กันยายน 2556
ครั้งที่14  เวลาเรียน 13.10 น. -16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น .   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น. 

                                         วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับการขียนแผนการเรียนการสอน ว่ามีรูปแบบแบบไหน มีองค์ประกอบอะไร โดยทำกันเป็นกลุ่ม กลุ่มข้าพเจ้า ทำหัวข้อเกี่ยวกับ ก.ไก่ กุ๊ก กุ๊ก เป็นหัวข้อหลัก มีข้อย่อย ดังนี้ ประเภทของไก่  ลักษณะของไก่   ที่อยู่ของไก่ ประโยชน์จากไก่   และอาหารของไก่ โดยทำคล้ายๆ Mind map และวาดรูปตกแต่งให้สวยงาม   อีกหนึ่งชิ้น อาจารย์ก็ให้เขียนแผนการเรียนการสอนอีกแผน โดยมีหัวขอดังนี้ มีจุดประสงค์  สาระการเรียนรู้   วิธีการดำเนินการ และการประเมิน 


ผลงานของกลุ่มของข้าพเจ้า 











เป็นคนเขียนแผนการสอน 


                                 สิ่งที่ได้รับในวันนี้
1.ได้ฝึกการขียนแผนการสอน  สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ 
2.ได้ทำงานการเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือกัน แบ่งหน้าที่กัน 
3.รู้จักการบริหารเวลา 















บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  13 กันยายน 2556
ครั้งที่13  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น. 

                                           วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำเกี่ยวกับมุมต่างๆ ให้วาดรูปและระบายสีให้สวยงาม  กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกมุมบทบาทสมมติ ในมุมบทบาทสมมมติก็จะมีหลายๆแบบ เช่น ห้องสมุด ห้องครัว ห้องพยาบาล ห้องแสดงละคร เป็นต้น เมื่อทำเสร็จให้ออกมานำเสนอว่ามุมของกลุ่มตัวเองเป็นยังไง ส่งเสริมพัฒนาการด้านไหนของเด็ก และควรจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้หรือไม่ กลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร ดังนี้ พิชาการ - วาดรูป ระบายสี ภัสสร - ตัดเส้น ระบายสี  คุ้มเกล้า-ตัดเส้น ระบายสี  พรวิมล - ระบายสี สิโรธร -ระบายสี นำเสนอ จุฑามาศ ตัดเส้น ระบายสี และข้าพเจ้า ตัดเส้น และระบายสี 

ตัดเส้นก่อนนะ 




ผลงานของกลุ่มข้าพเจ้า 





เสร็จแล้วสวยงามนึกว่าจะทำไม่ทันซะอีก 




ถ่ายกับผลงานสักหน่อย 




ตัวแทนกลุ่มแแกไปนำเสนองาน


                สิ่งที่ได้ในการเรียนวันนี้ 
1. สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้ 
2.ได้ฝึกการทำงานการเป็นกลุ่ม การแบ่งหน้าที่กัน 
3.ได้ฝึกการบริหารเวลา 













บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  6 กันยายน 2556
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน  16.40 น.


                           วันนี้เริ่มต้นการรียนโดยอาจารย์ขอตัวแทนออกไปหน้าห้อง ดดยให้คนที่ออกไปจับสลากคนละ 1 อัน ในฉลากจะมีชื่อสัตว์ต่างๆ คือ ควาย ชะนี ช้าง ลิง   งู สุนัข คนที่จับได้สัตว์ไหนก็ให้ทำเสียงของสัตว์นั้น และทำท่าทางของสัตว์นั้นด้วย ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้ออกเป็นตัวแทนด้วย สัตวืที่ข้าพเจ้าได้คือ ชะนี และคนที่ออกไปเป็นตัวแทนก้จะได้ดาวคนละ 1ดวง 
                             พอทำกิจกรรมเสร็จ อาจานก็เริ่มสอน โดยวันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
-สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม 
-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา 

หลักการ
-สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ ได้สังเกตแลตั้งสมมุติฐาน
-สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้างเด็กควรได้สื่อสารสองทาง
-สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์ 
-สิ่งแวล้อมประกอบด้วยความหลายหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา เด้กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆรูปแบบ


มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา
-มุมหนังสือ 
-มุมบทบาทสมมติ
-มุมศิลปะ
-มุมดนตรี
ฯลฯ

ลักษณะของการจัดมุมในห้องชั้นเรียนเพื่อส่งสริมทักษะทางภาษา
-มีพื้นที่ีให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
-เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
-บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน ช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
-เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ

 มุมหนังสือ 
-มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
-มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
-มีพื้นที่ในการอ่านลำพังและเป็นกลุ่ม
-มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน เช่นโต๊ะเล็กๆ ขาตั้งสำหรับวาดรูป



มุมบทบาทสมมติ
-มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด้กเข้าไปเล่นได้
-มีพื้นที่เพียงพอ







มุมศิลปะ 
-จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่นสีเมจิก ดินสอ  ยางลบ ตรายาง ฯลฯ
-กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและแปะติด




มุมดนตรี
-มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นแะของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย  กรับ เครื่องเคาะจังหวะ

                 

หลังจากที่เรียนเสร็ดแล้ว อาจารย์ก็ให้คัดลายมือ พยัญชนะ ก-ฮ โดยคัดเป็นหัวกลมตัวเหลี่ยม ข้าพเจ้าชอบกิจกรรมนี้มาก เพราะข้าพเจ้าชอบคัดลายมือ 



ฝีมือการคัดลายมือของข้าพเจ้า 


                      สิ่งที่ได้ในการเรียนวันนี้
วันนี้ได้รับความสนุกสนาน ไม่เครียด เพราะกิจกรรมก่อนเรียน สามารถนำความรู้ที่เกี่ยวการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตเมื่อเราต้องฝึกสอน และการคัดไทย เพราะครูปฐมวัยควรขียนตัวหนังสือให้สวย ต้องเป็นตัวอย่างให้เด็ก











วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม 2556 
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลกเรียน 16.40 น.

                วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกัน  กลุ่มละไม่เกิน 5 คน โดยอาจารย์ให้ทำสื่อพัฒนาทางภาษา โดยกลุ่มข้าพเจ้า มี 7 คน แต่ทำงาน2 ชิ้น โดยชิ้นแรกเป็นสื่อเกี่ยวกับการประสมรูปภาพให้เป็นคำ และชิ้นที่สอง เป็นสื่เกี่ยวกับ การวาดรูปปลาวาฬตามจุด A-Z 



กำลังวางแผนกันและช่วยกันคิดว่าจะทำสื่อแบบไหนดี 



 

ช่วยกันระบายสี





ระบายสี 3 คน ก็ยังไม่เสร็จ 




 ฝีมือกลุ่มข้าพเจ้าเอง เกมประสมรูปภาพ





อีกหนึ่งสื่อ  เกมวาดปลาวาฬ




     เมื่อทำเสร็จกนทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอว่ากลุ่มของตนเองเป็นสื่อแบบไหน 



กลุ่มข้าพเจ้าออกไปนำเสนอ




นำเสนออีกหนึ่งชิ้น 




                    สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือ การได้ทำงานกันเป็นกลุ่ม การวางแผนการทำงาน การช่วยกันคิด การช่วยเหนือซึ่งกันและกัน การแบ่งหน้าที่กันในการทำงาน 







บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  23 สิงหาคม 2556
ครั้งที่10 เวลาเรียน 13.10 น. -16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น. 
        
                         วันนี้อาจารย์สอนเรื่องสื่อการเรียนรู้ทางภาษา โดยมีความหมาย ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ ประเภทของสื่อการสอน โดยมีเนื้อหาดังนี้ 
     ความหมายของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา 
- วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ
- เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา 
- เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้นเพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ 

ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
- เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นรูปธรรม
- จำได้ง่าย เร็ว และนาน

ประเภทของสื่อการสอน
1.สื่อสิ่งพิมพ์
- สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
- เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
- หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
- สิ่งของต่างๆ
- ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
3. สื่อโสตทัศนูอุปกรณ์
-สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์
- คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
4. สื่อกิจกรรม
- วิธีการใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
- ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
- เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
5. สื่อบริบท
- สื่อที่ต้องส่งเสริมการจัดประสบการณ์
- สภาพแวดล้อม
- ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

        วันนี้ยังให้เล่นเกม อาจารย์เปิดเสียงสัตว์ให้ฟัง แล้วให้ทายว่าเสียงที่เราได้ยินคือเสียงอะไร โดยเกมนี้    -ได้ฝึกทักษะการฟัง
       - ผ่านทักษะการคิด
       - ได้ทักษะการพูดเมื่อเราพูด
       - ประสบการณ์เดิม

วันนี้ยังให้ทำสื่อการเรียนรู้ทางภาษาอีกด้วย ด้วยให้เราวาดรูปอะไรก็ได้ แล้วสื่ออกมาว่าจะสื่อเป็นภาษาแบบไหน เช่น ภาษาอังกฤษ




       








สิ่งที่ได้รับจากวันนี้ ได้รู้ความหมายเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา และยังได้ทำสื่อ เป็นสื่อที่ยังไม่เคยทำมาก่อน  และยังนำสื่อที่ได้ทำมา นำไปสอนเด็กอีกด้วย











วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   16 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 9   เวลาเรียน 13.10 น. -16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
  
             วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน ให้ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้านั้นได้ทำหุ่นนิ้วมือเกี่ยวกับประเทศทั้งหมด 10 ประเทศ 



ผลงานของกลุ่มข้าพเจ้า หุ่นนิ้วอาเซียน




สมาชิกกลุ่มของข้าพเจ้า




                         สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ คือได้ช่วยกันทำงานเป็นกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแบ่งหน้าที่และเวลาให้ถูกต้องและเหมาะสม  ทำให้การทำงานเป็นกลุ่มนี้จะช่วยให้อนาคตภายหน้าเราทำงานกับคนอื่นได้  




วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน 
วัน/เดือน/ปี  9 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น. 

           วันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทาน โดยแต่งจากเพื่อนๆทั้งหมดในห้อง โดยมีชื่อเรื่องคือ บทเรียนของกระต่ายน้อย  มีเนื้อเรื่องของนิทานดังนี้
                 มีครอบครัวกระต่ายอยู่ครอบครัวหนึ่ง สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียว ครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อแม่ กระต่าย และลูกกระต่ายอีก 2 ตัว น้องกระต่ายชอบแย่งแครอทพี่กระต่าย และตัวพี่กระต่ายก็ยอมเสียสละให้น้องกระต่ายเสมอ  เพราะเชื่อคำที่พ่อแม่สอน แต่ตัวน้องกระต่ายก็เอาแต่ใจมากเกินไป ต้องให้พี่ยอมน้องทุกเรื่อง 
                 แต่แล้ววันหนึ่ง มีกระรอกตัวหนึ่ง มาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไป น้องกระต่ายก็เลยร้องไห้ พี่กระต่ายก็เลยเอาแครอทของตัวเองมาให้น้อง น้องเกิดสงสัยว่าทำไมพี่ถึงเอาแครอทของพี่มาให้  พี่กระต่ายก็บอกว่า เราเป็นพี่น้องกัน เราก็ต้องแบ่งปันกัน น้องกระต่ายก็เลยหัก แครอทแบ่งกับพี่กระต่ายคนละครึ่ง และหลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจอีกเลย 
    เมื่อแต่งนิทานเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกันทำว่ากลุ่มไหนจะวาดรูปนิทานหน้าไหน โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ทำหน้าปก และ หน้าแรก



 

กลุ่มข้าพเจ้า หน้าปก กับหน้าที่1 






กลุ่มข้าพเจ้า ช่วยกันระบายสี



ข้าพเจ้า เขียนเนื้อเรื่องนิทาน หน้าที่ 1







หน้าปก กลุ่มข้าพเจ้า 




ทุกๆกลุ่ม 






หน้าปก



หน้าที่ 1

                                     สิ่งที่ได้ในวันนี้ คือ วันนี้ได้ช่วยกันแต่งนิทาน ได้ความคิดสร้างสรรค์ ได้จินตนาการ ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันของเพื่อนในกลุ่ม ได้บริหารเวลา 






วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  26 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่7  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.      เวลาเลิกเรียน  16.40 น. 
              
              วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปอะไรก็ได้ ที่ตนเองอยากวาดและระบายสีให้สวยงาม โดยข้าพเจ้าวาดหมีคุมะ  พอวาดเสร็จอาจารย์ก็ให้นำภาพที่เราวาดนั้น และของเพื่อนทุกๆคนไนห้องนำมาเล่านิทานโดยให้คนแรกเอาไปแล้วเล่าเริ่มต้นจากรูปที่ตนเองวาดแล้วคนต่อๆไปก็เล่าต่อจนถึงคนสุดท้าย พอเล่านิทานเส ร็จ อาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินโดยมีเนื้อหาดังนี้
การประเมิน 
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย 
2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
    -บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
    -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
-อ่านคำคล้องจอง
-ร้องเพลง
-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนส่งสารถึงกัน
วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเล่นเกมและวันนี้อาจารย์ก็เล่านิทานให้ฟัง 2 เรื่อง โดยเป็นนิทานที่เล่าไปวาดไป โดยเล่านิทานเรื่องที่1 รูปออกมาเป็นรูป สุนัขจิ้งจอก และเรื่องที่ 2 รูปออกเป็นรูป แมลงเต่าทอง 

   สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ว่าเราสามารถเล่านิทานต่อจากเพื่อนยังไง และได้เรียนรู้ถึงการประเมิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตเมื่อเราไปฝึกสอนหรือทำงานได้







 กิจกรรม เล่านิทานต่อกันเป็นเรื่องราว 
ข้าพเจ้าวาดรูปหมีคุมะ 



เกมที่อาจารย์ให้เล่น 




เฉลยเกม




เล่าไปวาดไป






เล่าไปวาดไป 














วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่6  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.   เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
           วันนี้อาจารย์สอนเรื่อวแนวทางการจัดประบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีเนื้อหาดังนี้

1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
-ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
-การประสมคำ
-ความหมายของคำ
-นำคำมาประกอบเป็นประโยค
-การแจกลูกสะกดคำ การเขียน
เช่น กอ-อา-กา      หอ-อู-หู          งอ-อู-งู      ถอ-อู-ถู
  • ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
  • ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก

              Kenneth Goodman
-แนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
-มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
-แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
             ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
-ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
-ช่างสงสัย ช่างซักถาม
-เลียนแบบคนรอบข้าง

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole  Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
-เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
-เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
-อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

การสอนภาษาธรรมชาติ
  • สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม(ไม่เรียนเป็นรายวิชา)
  • สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
  • สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
  • สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
  • ไม่เข้มงวด กับการท่องสะกด 
  • ไม่บังคับให้เด็กเขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 
1.การจัดสภาพแวดล้อม
-ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
-หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
-เด็กจะต้องมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อที่มีความหมาย
-เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงๆ
-เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
-เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3.การเป็นแบบอย่าง
-ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
-ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4.การตั้งความคาดหวัง
-ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
-เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะเน
-เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
-เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
-ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
-ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
-ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
-ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7.การยอมรับนับถือ
-เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
-เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตเอง
-ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
-ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
-ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
-ครูจะต้องทำใหเด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
-ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
-เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

 ผู้ถ่ายทอดความรู้ ---> ผู้อำนวยความสะดวก ---> ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

               บทบาทครู
-ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
-ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
-ครูยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วน ของเด็ก
-ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

       
               สิ่งที่ได้ในวันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนแบบธรรมชาติ ทำให้รู้ว่าการสอนเด็กให้เขียนและอ่านเป็นนั้น เราไม่ควรคาดหวังในตัวเด็กมาก เพราะ เด็กแต่ละคนอาจจะเขียนได้บ้างไม่ได้บ้าง เขียนถูกบ้างเขียนผิดบ้าง เขียนกลับหัวบ้าง เราต้องเข้าใจและสอนอันที่ถูกให้กับเด็ก เราไม่ควรดุด่าเด็กเพราะอาจทำให้เด็กไม่กลัวเขียนหรือกล้าอ่านหนังสือเพราะกลัวว่ากลัวเขียนผิดกลัวอ่านผิดแล้วจะโดนด่า และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตเมื่อเราได้ไปฝึกสอน                   










วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่5  เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

          วันนี้เพื่อนกลุ่มที่ยังไม่นำเสนออาทิตย์ที่แล้ว ออกมานำเสนอพาวเวอร์พ้อย คือกลุ่ม 8 ในหัวข้อ เรื่องพัฒนาการ โดยมีเนื้อหาดังนี้ พัฒนาการคือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่มความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่่างๆได้อ่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากให้ซับซ้อนิ่งข้นให้ลอดการเพิ่มทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับของบุคคลนั้น
วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยให้วาดรูปสิ่งที่ตนเองรักที่สุดในวัยเด็กโดยของที่ข้าพเจ้าที่สุดคือชุดนอนโดเรม่อน ที่น้าเป็นคนให้เป็นของขวัญวันเกิด
และวันนี้อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง องค์ประกอบของภาษาแนวคิดนักการศึกษา โดยมีเนื้อหาดังนี้
1.Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
-เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-หน่วยเสียงที่จะประกอบของเป็นตำในภาษา
2.Semantic
-คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
-คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
-ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
3.Syntax
-คือระบบไวยากรณ์
-การเรียงรูปประโยค
4.Pragmatic
-คือระบบการนำไปใช้
-ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
      แนวคิดการศึกษา
1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
        ทฤษฎีการเรียนรู้ของ skinner
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
      Jon B. Watson
-ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
-การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไดทุกพฤติกรรม
       นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
-ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
-การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
-เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
-เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
-เมื่อได้รับแรงเสริม จะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
        Piaget
-เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
       Vygotsky
-เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
-สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
-ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3.แนวคิดกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
      Arnold  Gesell
-เน้นความพรอมทางด้านร่างกายในการใชภาษา
-ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
-เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
-เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
4.แนวคิดกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
      Noam Chmsky
-ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวของมนุษย์
-การเรียนรู้ภาษาข้นอยู่กับวัตถุภาวะ
-มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
        แนวคิดของ O.Hobart  Mowrer
-คิดค้นทฤษฎความพึงพอใจ
ความสามรถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
       แนวทางมโนการจัดประสบการณ์ทางภาษา
-เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
-นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ไดแบ่งกลุ่มมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น3กลุ่ม ดังนี้
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
-นำองค์ประกอบย่อยองภาษามใช้ในการสื่อความสื่อความหมาย
-เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำที่เป็นวลี หรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
-เชื่อว่าภาษาเปนเรื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
-การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
-ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
-เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
-การแลกเปลี่ยนแปลงประสบการณ์
-เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา






                                   
                                       เป็นรูปสิ่งที่ข้าพเจ้าวาดในกิจกรรม สิ่งที่รักที่สุดในวัยเด็ก









วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่4   เวลาเรียน 13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาพรีเซ็นต์งานที่แต่ละกลุ่มได้รับใแต่ละหัวข้อ 

กลุ่ม1 หัวข้อ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย (กลุ่มตัวเอง)
            กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอ ความหมายของภาษา   ภาษา หมายถึงสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความรู้ และรู้สึก แล้วเกิดความเข้าใจรงกัน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นได้แก่ เสียงพูด ตัวกริยา กริยาท่าทาง สัญลักษณ์ รูปภาพ แสง สี เสียงและทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้สื่อความหมายได้แล้วเกิดความเข้าใจตรงกัน  และความสำคัญของภาษา มีดังนี้ 
-ภาษาเป็นสิ่งแสดงถึงมรดกทางวัฒนธรรมของคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นสิ่งผสานความรักความสามัคคีระหว่างคนในกลุ่มชน
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์
-ภาษามีความสำคัญต่อความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคม
และให้ชมวีดีโอที่ไปถ่ายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ห้องอนุบาล2/2 โดยมีน้องลูกแก้ว พูด1-10เป็นภาษาอังกฤษ น้องมิเซลท่อง A-Z  และน้องๆช่วยกันรองเพลงฝน




กลุ่ม2 หัวข้อแนวคิดของนักทฤษฎีภาษาของเด็กปฐมวัย
       กลุ่มนี้นำเสนอแนวคิดของทฤษฎีของแต่ละคน มีดังนี้
- เพียเจต์ ได้นำเสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กมีอิธิพลต่อกระบวนการเรียนการสอนภาษาธรรมชาติ ว่า เด็กๆเกิดการเรียนรู็ได้โดยการมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติในกิจกรรม่างๆได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ต่างๆด้วยตนเอง ได้คิดด้วยตนเอง
- จอห์น ดิวอี  กล่าว่า การเรียนรู้ภาษาองเด็กเกิดจากการมีประสบการณ์ตรงลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเอง เรียกว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
- ไวกอตสกี้ กล่าว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาองตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านกาเล่และเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือตนเองและลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
-ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจากการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
- กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้  การเรียนรู้ของเด็กต้องเป็นไปตามธรรมชาติที่เด็กได้มีประสการณ์ตรงลงมือปฏิบัติกับบุคคลสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการ
  
กลุ่ม3 หัวข้อ  พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กแรกเกิด-2ปี
        กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการในต่ละช่วงของเด็ก ในอายุตั้งแต่ แรกเกิด- 2ปี
  - 4 สัปดาห์ เด็กจะเลียนแบบการพูด เลียนแบบสีหน้า และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆบนใบหน้าของเรา 
- 6 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มไล่หลังเรา และสายตาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
- 8 สัปดาห์ ถ้าถือของเหนือศีรษะ เด็กจะเงยมองตามสิ่งของนั้น
- 3 เดือน เด็กจะมองของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ เด็กจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและส่งเสียงอ้อแอ้ตอบ
- 4 เดือน เด็กจะตื่นเต้นเมื่อถึงเวลาป้อนนมและถ้าได้ยินเสียงรอบๆตัว เด็กจะหันไปหาที่มาของเสียงนั้น
-5 เดือน เด็กะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัวและความโกรธออกมา
- 6 เดือน เด็กจะเริ่มสนใตกระจกเงา สนใจใบหน้าตนเอง และชอบอาหารเป็นบางอย่าง
- 8 เดือน เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง เริ่มเข้าใจคำว่า "ไม่"
- 9 เดือน เด็กจะเริ่มแสดงความต้องการของเขาให้เราได้รับรู้ 
- 10 เดือน เด็กจะเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ และพูกคำที่สั้นๆง่ายๆได้ั
- 11 เดือน เด็กจะเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นได้ง่ายๆ
- 12 เดือน เด็กจะพยายามทำอะไรให้เราหัวเราะ และทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ
- 15 เดือน เด็กะเริ่มแสดงให้เรารู้ว่าอยากทำอะไรเองบ้าง 
- 21 เดือน เด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เดกจะเรียกเราเข้าไปดูด้วย
- 2 ปี เด็กชอบอู่ตามลำพังคนเดียว เล่นคนเดียว

กลุ่ม4 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก2-4 ปี
     กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้ว่า เด็กนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าและเด็กจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีตอบ และได้ชมคลิปวีดิโอที่ไปถ่าย

กลุ่ม5 หัวข้อ พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็ก4-6 ปี
 กลุ่มนี้นำเสนอว่า เป็นช่วงที่พัฒาการรับรู้โดยการสังเกตเด็กจะสามารถบอกชื่อตัวเองได้ และมักจะชอบถามว่า ทำไม อย่างไร ถามทุกอย่างที่ไม่เข้าใจ เด็กมักจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่

กลุ่ม6 หัวข้อ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
กลุ่มนี้ได้นำเสนอ เกี่ยวกับการเรียนรู้  การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาากการได้รับประสบการณ์โดยการเปลี่ยแปลงั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ปะสบกาณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์การที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
ปะสบกาณ์ทงอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิไดพบหรือสัมผัสด้วยตเองโดยตรงแต่อาได้รับประสบการณ์ทางอ้อม จากการอบรมสั่งสอนหรือกาอ่านหนังสือต่างๆ
 องค์ประะกอบ ของการเรียนรู้ มี4 ประการ 
1.แรงขับ เป็ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2.สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆจึงเป็นตัวทำให้ปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
3.การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าการตอบสนอง

กลุ่ม7 หัวข้อ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
      กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการรียนรู้องเด็ก
- การช่วยเหลือตนเอง
-เด็กจะเริ่มต้นการเรียนรู้จากความสัมพันธ์ระหว่งตนเองกับธรรมชาติ

กลุ่ม9 หัวข้อ องค์ประกอบภาษาทางด้านภาษา
                กลุ่มนี้เสนอพาวเวอร์พ้อยเกี่ยวกับ องค์ประกอบของภาษามีดังนี้ เสียง ไวยากรณ์ ความหมายและมีเด็กต่างชาติพูดภาษาอีสาน

กลุ่ม10 หัวข้อ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
     กลุ่มนี้เสนอวิดีโอเกี่ยวกับภาษาธรรมชติของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย ในเรื่องของการคิดการเรียน กาสอนแบบธรรมชาติ และสอนว่าอย่าคาดหวังให้เด็ก เพราะเด็กละคนนั้นมีความแตกต่างกัน และครูต้องมีการ่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกรองเด็กในเรื่องการอ่าน การเขียนของเด็ก














วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  28 มิถุนายน  2556
ครังที่3  เวลาเรียน 13.10น. - 16.40น.
เวลาเข้าสอน  13.10น.    เวลาเข้าเรียน  13.10 น.      เวลาเลิกเรียน  16.40 น.
  
     
                        วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย














บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2     เวลาเรียน  13.10 น. - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น.   เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน  16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องความหมายหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา ทักษะทางภาษา ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  พัฒนาการภาษาของเด็ก และจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งมีเนื้อหาต่อไปนี้ที่ได้เรียนมา      
ภาษาหมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงออกความคิดและความรู้สึก
     ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
    ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
  -การฟัง รับข้อมูล      
  -การพูด ส่งข้อมูล
  -การอ่าน  รับข้อมูล  
   -การเขียน  ส่งข้อมูล
     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
             การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
        กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
 1.การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.การปรับความข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
    เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล(Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
  -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  -เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคล รอบตัว
  -เด็กสนใจภาษาสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)
   2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual Period)
       เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กยังมีการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนกัน
   2.2 อายุ 4-7 ปี (Intuitive Period)
        ใช้ภาษาในการสื่อสารไดดีกับคนรอข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมไดบ้าง ยังยึดตนองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ขอสิ่งของ
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
     เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage ) อายุ 11-15 ปี
    เด็กคิดดวยเหตุผลอย่างเป็นระบบ
    ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
    เข้าใจเกณฑ์ของสังคม
    สร้างมโฯทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม
           พัฒนาการภาษาของเด็ก 
เด็กจะค่อยๆสรางความรู้และเข้าใจเป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของด็ก
           จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
      วัย ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
     อิทธิพลทางพันธุกรรม
     อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
     การทบทวนเป็นระยะ
     การจัดเป็นหมวดหมู่
     การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม
    -แรงเสริมทางบวก  เช่น การชม การให้ดาว  การกอด  การยกนิ้วโป้ง
    -แรงเสริมทางลบ    เช่น การว่ากล่าวตักเตือนตามสถานการณ์ ไม่ควรลงโทษทางร่างกาย







บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13.10 น.- 16.40 น. 
เวลาเข้าสอน 13.10 น.    เวลาเข้าเรียน 13.10 น.     เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
    
  สิ่งที่ได้จากการเรียนวันนี้ 
      -ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำบล็อกของตนเอง
      - ได้เรียนรู้ถึงข้อตกลงในการเรียนร่วมกันและกฎระเบียบในการเรียน
      - ได้ทำชิ้นงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทำ Mind map เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยความคิดของตัวเองและเพื่อนๆในกลุ่ม
      -ได้เรียนรู้ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม




                                                             ฝีมือกลุ่มของข้าพเจ้า